Wellcom to Thai Succulents - ยินดีต้อนรับสู่เวบไทยซัคคิวเล้นท์นะครับ

Thai - Succulents
ผมทำ Blogger ขึ้นมาเพื่อต้องการติดชื่อให้กับต้นไม้ที่ผมเลี้ยงหรือได้พบมา ซึ้งผมเองเริ่มต้นจากการชอบไปซื้อต้นไม้มาเลี้ยงดูเล่น และหลายๆครั้ง ตัวผู้ขายเองยังไม่รู้ชื่อของต้นไม้ที่ขายเลย ผมจึงลองพยายามหาชื่อต้นไม้เองใน Internet และพบว่าเป็นเรื่องยากลำบากเหมือนกัน เพราะมีหลายสกุลและยังสามารถจะจำแหนกตามลักษณะย่อยอีก ซึ้งให้จำเองทั้งหมดคงไม่ไหว ก็เลยคิดว่างั้นผมก็ติดชื่อให้ต้นไม้ใน Blogger เลยดีกว่า เพื่อให้คนอื่นที่สนใจเหมือนกันได้ใช้ค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นของกระบองเพชรและไม้อวบน้ำต่างๆ ถ้าข้อมูลผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วยนะครับ ผมจะพยายามหาข้อมูลมาแก้ไขให้ถูกต้องที่สุดครับ
By : Lee
thaisucculents@hotmail.com
thaisucculents@gmail.com

Thursday, November 21, 2013

update my aloe hybrid อโลลูกผสม

วันนี้จะมาอัพเดทอโลที่ผสมเองอีกซักชุดหลังจากที่ไม่ได้อัพเดทมานานหลายเดือนแล้ว ทั้งหมดเป็นไม้ที่ผสมเองทุกต้นครับ แต่ว่าไม้ที่ผมพยายามจะผสมให้ได้คือจะเน้นสีแดง ผิวใบมีหนามเยอะๆ แล้วสีไม่ตกแม้เลี้ยงในสภาพอากาศของกรุงเทพ

จากการลองเพาะมาเป็นเวลาประมาณเกือบ 2 ปี ได้ไม้มามากมาย แต่อโลในแบบที่ต้องการยังไม่เข้าเป้าที่ต้องการเลย ได้จำนวนน้อยมาก แต่ผลจากการทดลองเพาะก็เริ่มจับไม้ที่ให้ลักษณะที่ต้องการได้บ้างแล้ว ผลจากการทดลองเอาไม้ทุกต้นที่มีในสวนมาลองผสมนั้นเอง.........

ทรงกระทัดรัด หนามสวย แต่สียังไม่แดงจัดออกทางส้มมากกว่า
 ลูกผสมตัวนี้มีขนาดเล็ก ต้นออกจะคอมแพ็คเลยทีเดียว ทรงต้นสวยผิวใบสวย แต่สียังไม่แดงมากออกส้มมากกว่า


ลูกผสมทรงธรรมดา แต่สีออกแดงทั้งใบกว่าตัวธรรมดามาก
 ตัวนี้รูปทรงและผิวใบธรรมดา แต่สีทั้งต้นออกแดง เลี้ยงร่วมกับตัวอื่นมาตลอด แต่ต้นนี้สีแดงทั้งใบเห็นชัดมาก ไม่ต้องแดดมากก็แดงได้ สีจะออกแดงน้ำตาล


ขนาดออกไปทางเล็ก เด่นที่ฟันใหญ่ลายใบสวย สีตัดกันดี
 เจ้าลูกผสมตัวนี้เป็นไม้ที่ผมผสมมาลวดลายสีสันยังไม่ถึงกับเด่นมาก มีดีที่ฟันใหญ่สีส้ม และขนาดต้นเล็ก


เจ้าแดงเดือด สีสันแดงแม้อยู่ในร่ม
 ลูกผสมตัวนี้เป็นไม้ที่ผมคัดไว้รอตั้งชื่อครับ ด้วยสีสันและผิวใบดุดันมาก เลี้ยงร่มก็แดงชัดไม่ง้อแดดมาก แต่ถ้าเลี้ยงแดด ใบจะออกม่วงๆแดงๆทั้งใบ สีไม่ตกเลี้ยงในกรุงเทพแท้ๆ ไม่ต้องง้ออากาศเย็นสีก็จัดได้ เก็บไว้ทำแม่พันธ์รุ่นต่อไป


ฟันใหญ่ สีขาว
 ไม้ตัวนี้มีฟันยาวเหมือน Aloe jaw ผมผสมได้โดยบังเอิญ แต่ขนาดและใบจะยาวกว่าตัว Aloe jaw อยู่พอสมควร ยังไม่ค่อยโดยใจเท่าไหร อยากได้ฟันแดงๆมากกว่า


ทรงสวย ผิวใบละเอียด เขียวล้วน
 ผสมกับ Aloe myron kimnach จากที่ทดลองผสมกับ myron  หลายตัวจะได้ใบผิวละเอียดสีเขียวมาหลายต้นทีเดียว ขนาดและทรงแล้วแต่ต้นแม่ที่ผสมด้วย ส่วนใหญ่จะได้ไม้ขนาดไม่ใหญ่มาก เพราะ myron เองก็จัดเป็นอโลขนาดเล็กอีกชนิด


สีแดงสด ผิวใบสวย ขนาดเล็ก
เป็นไม้ที่คัดเก็บอีกต้นรอตั้งชื่อ สีจัด สีแดงไม่ตกเลี้ยงในกรุงเทพได้สบายมาก แถมขนาดเล็ก ผิวใบสวยมีหนามสีแดงทั้งใบ จากที่ลองเลี้ยงมาหลายแบบต้นนี้ให้สีแดงที่จัดมาก ไม่ว่าจะเลี้ยงแดดรำไรหรือแดดจัด ถ้าเลี้ยงแดดจัดผิวใบจะออกม่วงแดง ไม้เก็บอีกต้นที่ผมยังไม่เคยได้แบ่งใคร


ใบสีส้มแดง ผิวใบหยาบ ขนาดเล็ก
 ลูกผสมตัวนี้จัดเป็นไม้ที่สีจัดอีกต้น แต่ออกไปทางส้มไม่แดงจัดมาก เลี้ยงแดดจะได้สีแบบนี้ ผิวใบสวยขุรขระดี



ด่าง ใบยาว
จำได้ว่าแม่เป็น aloe deltoideodonta พ่อเป็น aloe dragon แต่ทำไมลูกออกมาไม่ได้เชื้อพ่อเท่าไหรเลย ได้ตรงใบยาวมาอย่างเดียว ผิวและลายใบคล้าย aloe rauhii แต่ใบด่างสวยมาก หน่อใหม่ก็ได้ด่างมาทุกต้น เก็บไว้ผสมต่อเผื่อให้ลูกออกมาด่าง


Friday, October 4, 2013

Euphorbia francoisii เลี้ยงให้เป็นบอนไซ

Euphorbia francoisii

งานอดิเรกอีกชิ้นของผมคือชอบจับ Euphorbia francoisii มาดึงโขดรากให้ออกเป็นทรงบอนไซ

ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นท่านอื่นๆเลี้ยง มักนิยมให้โขดรากฝังอยู่ในดิน โชว์เพียงแต่ใบเป็นพุ่มเท่านั้น แต่จริงๆแล้วถ้าเลี้ยงอีกแบบอาจจะได้ไม้สวยๆอีกแนวก็ได้ครับ

ขั้นตอนการทำก็คือเลี้ยงปกติให้โขดรากฝังในดินไปก่อนสามสี่เดือนจึงค่อยจับยกโขดขึ้นมา ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณปีก็จะได้ Euphorbia francoisii bonsai แล้ว

แต่ต้องเป็นต้นที่มีอายุประมาณสองปีขึ้นถึงจะเหมาะ เพราะต้องให้ต้นเลี้ยงโขดในดินให้สมบูรณ์ก่อนนะครับ ไม่งั้นมันจะได้แต่โขดผอมๆ



ต้นที่ดึงโขดรากขึ้นมาแล้ว


บางต้นโขดก็ต่ำมากดึงขึ้นมาแล้วได้นิดเดียว ไม่เห็นเป็นลำต้น


บางต้นใบเยอะมากจนมองไม่เห็นโขดเลย กว่าจะยาวจนเป็นลำต้น คงต้องเลี้ยงอีกหลายปี
 ไว้จะทยอยเอาผลงานมาแสดงให้ชมนะครับ เป็นแค่งานอดิเรกสนุกๆ ไม่ได้เน้นไปประกวดกับใคร แค่นั้งทำต้นไม้บ้างก็สุขใจแล้ว


Aloe conifera

aloe conifera

Aloe conifera แหล่งที่พบ มาดากัสการ์ เท่าที่เห็นจะมีใบ 2 ลักษณะ คือมีใบแบบยาวเหมือนในรูปและใบแบบอวบสั้น แต่ลักษณะภายนอกเหมือนกันต่างแค่ฟอร์มของใบเท่านั้น แต่ก็มีชื่อเหมือนกันครับ

การเลี้ยงไม่ชอบน้ำมาก เครื่องปลูกต้องโปร่งระบายน้ำดี

จากที่ผมลองเลี้ยงและทำตายไป 3 ต้นแล้ว การตายของแต่ละต้นเป็นการเน่าที่โคลนต้นทั้งนั้น ทั้งๆที่เลี้ยงอย่างดีโดยไม่รดน้ำเยอะและไม่โดนฝน และมักจะตายในช่วงฤดูฝน คาดว่าน่าจะแพ้เชื้อราในช่วงฤดูฝน และสภาพอากาศไม่เหมาะสม

สรุปว่าน่าจะไม่เหมาะกับมือใหม่ที่จะนำมาเลี้ยง เพราะราคาแพงและเลี้ยงยากเอาการ ผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่ามีคนเลี้ยงให้ต้นใหญ่จนออกดอกได้รึยังในกรุงเทพ แต่คิดว่าน่าจะมีคนเลี้ยงได้บ้างล่ะ....

Monday, August 19, 2013

ชม bonsai วันแม่กันครับที่สวนสิริกิติ์

วันก่อนไปเที่ยวงานวันแม่ที่สวนสิริกิติ์ (สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ )ข้างเจเจมอลมาครับ ในงานมีขายสินค้าและมีต้นไม้มาจำหน่าย

พอเดินเข้าไปผ่านประตูทางเข้า ก็เห็นมีมุมแสดงต้นไม้กลุ่มบอนไซ ผมก็เลยแวะถ่ายรูปมาลงในเวบให้ชมกันครับ รูปทรงสวยงามจริงๆครับ เป็นไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่ผมก็สนใจและอยากทดลองแต่งต้นไม้ที่ผมมีให้เป็นแบบสไตร์บอนไซดูบ้าง










เห็นแบบนี้ก็คันมืออยากจับต้นไม้ที่บ้านมาทำบอนไซมั้งแล้วครับ

Friday, July 12, 2013

Gymnocalycium chiquitanum variegata

Gymnocalycium chiquitanum variegata
  Gymnocalycium chiquitanum variegata ตัวด่างที่บ้านเลี้ยงไว้นานแล้วครับ ได้หน่อด่างๆมาหลายต้นแล้วครับ การเลี้ยงผมก็เลี้ยงรวมกับแคสตัสทั่วไป ไม่ต้องดูแลอะไรพิเศษเพราะยิมโนเป็นไม้ที่เลี้ยงง่ายอยู่แล้วครับ แถมให้หน่อเก่ง เอาหน่อไปชำก็ง่ายอีก
Gymnocalycium chiquitanum
Gymnocalycium chiquitanum ตัวปกติจะสีเขียวแบบนี้ครับ ผมสังเกต Gymnocalycium chiquitanum หนามจะลายๆไม่ว่าตัวด่างหรือไม่ด่าง เพราะเคยจำสลับกับ gymnocalycium denudatum เห็นทรงมันคล้ายๆกันตอนไปเดินเลือกต้นไม้

Gymnocalycium pflanzii var. izozogsii

Gymnocalycium pflanzii var. izozogsii
 หลายครั้งของการพยายาม identify ไม้ที่ผมเองจำชื่อไม่ค่อยได้ Gymno ก็เป็นไม้ที่มีความหลากหลายมากของสายพันธ์ และ Varity ก็อาศัย Blogger ในการติดชื่อต้นไม้เหล่านี้อยู่ อย่างน้อยกลับมาดูอีกที่จะได้ร้อง...อ๋อ ว่าไม้ตัวนี้ชื่ออะไร แหม ...พล่ามซะยาวเลย


กลับมาที่ยิมโนกันต่อครับ ไม้ตัวนี้ผมลืมไปแล้วมาได้มาเลี้ยงนานเท่าไหรแล้ว ขาดการดูแลอย่างมากเลย มาเจอตัวอีกที่ก็มีคราบสนิมเกาะเต็มเลย แต่ต้นยังอวบสวยอยู่เลย แสดงถึงความทรหดดีมาก กว่าจะหาชื่อและ Tag เจอก็นั้งเดาชื่ออยู่ตั้งนาน 555

Sulcorebutia candiae


Sulcorebutia candiae
 เป็น cactus กลุ่ม sulcorebutia มีขนาดประมาณ 4-5 เซนติเมตรดอกสีเหลือง ลักษณะมีหนามสีน้ำตาลขึ้นรอบต้น

 เป็นไม้ที่หาไม่ยาก เลี้ยงง่ายการดูแลก็เหมือนไม้ในกลุ่มแคสตัสทั่วไป คือรดน้ำอาทิยต์ละครั้งหรือสองครั้งก็พอ ออกแดดแรงๆได้ ยิ่งออกแดดหนามยิ่งเยอะครับ ตัวอย่างในรูปเลี้ยงแดดเยอะครับหนามขึ้นจนคลุมเหมือนขนเลย


Sulcorebutia candiae แตกหน่อง่ายเลี้ยงไม่นานก็จะได้เป็นไม้กอแล้วครับ


Thursday, July 4, 2013

Melocactus erythracanthus

Melocactus erythracanthus
 เมโลหนามยาว หนามเป็นสีส้มแดง เลี้ยงง่ายโตเร็ว

Tuesday, July 2, 2013

Coryphantha elephantidens f.variegata ช้างด่าง

Coryphantha elephantidens f.variegata
เป็นไม้ยอดนิยมในกลุ่มคนเล่นกระบองเพรชอีกตัวหนึ่งครับ ต้องเป็นตัวด่างนะครับถึงจะได้ลายสวยๆแบบนี้ ถ้าเป็นตัวธรรมดาจะออกเขียวทั้งต้น ยิ่งโตก็ยิ่งสวยครับ แต่เป็นราสนิทง่ายไม่ทนแดดจัดมาก เพราะไม้ด่างสู้แดดไม่ค่อยได้

coryphantha elephantidens
 รูป coryphantha elephantidens ตัวปกติจะเขียวๆแบบนี้ครับ เต้าใหญ่ๆ หนามยาวๆ อันนี้พิมพ์นิยมของผมเลย...

Friday, June 21, 2013

Gymnocalycium denudatum var. paraguayensis

Gymnocalycium denudatum var. paraguayensis
 ยิมโนหนามแมงมุม spider cactus ลักษณะจะมีหนามกางแนบกับต้น ดูเหมือนแมมมุม
ผมเห็นชื่อทางญี่ปุ่นเรียก kaiomaru น่าเป็นตัวเดียวกับ Gymnocalycium denudatum var. paraguayensis แต่หนามใหญ่และยาวกว่า


Friday, June 14, 2013

Uebelmannia pectinifera แผงคอม้า

Uebelmannia pectinifera
กำเนิดอยู่แถบประเทศบราซิล เป็นไม้ยอดนิยมในบ้านเราอีกตัวหนึ่ง ผมเองก็ชอบเหมือนกัน มีสกุลย่อยอีกประมาณ 5 ชนิด ลักษณะหนามเป็นแผงมีขนเหมือนแผงคอของม้า เลยเรียกกันติดปากว่า " แผงคอม้า " เป็นไม้ที่โตช้า ไม่ชอบการรดน้ำที่ตัวต้น เมื่อก่อนผมก็เคยทำเน่าไปเพราะรดน้ำโดนต้นเข้าเต็มๆเลย เลี้ยงแดดจะออกสีอมแดงม่วง เลี้ยงร่มๆ รำไรจะออกเขียว เป็นไม้ที่เลี้ยงไม่ยากแต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของเค้าหน่อยครับ

Commiphora africana

Commiphora africana
ไม้กลุ่มที่มียางหอมอีกชนิดที่สะสมไว้ ช่วงก่อนทิ้งไปจนเกลี้ยงต้นเลยเลี้ยงอยู่นานกว่าจะยอมออกใบใหม่ให้ พอหน้าฝนแตกใบใหม่ออกมาเต็มเลย


ลักษณะใบจะมีขนอ่อนบนผิวใบ ใบนิ่ม ชอบน้ำ เลี้ยงด้วยกระถางมีถาดรองน้ำก็ดีครับ

Commiphora near Orange River

Commiphora ที่พบแถว Orange River จนตอนนี้ก็ยังหาชื่อไม่ได้เลย แต่ต้นสูงเอาการ ผมเลี้ยงจนสูงประมาณ 2 เมตรกว่า เลยตัดชำซะเลย เป็นไม้ที่มีกินแรงอีกตัว โค่นลำต้นก็มีเปลือกลอกเหมือนไม้กลุ่ม Commiphora ทั่วไป แต่ใบใหญ่กว่าตัวที่ผมเคยได้มา ใบและลำต้นคล้าย Commiphora harveyi

Tuesday, June 4, 2013

Aloe cj red valentine

Aloe cj red valentine
วันนี้มีอโลตัวใหม่ที่ผสมเองมาแนะนำครับ Aloe cj red valentine เป็นไม้ที่ผมผสมเอง ลักษณะเด่น หนามสีแดงสด ใบจะออกเป็นสีเขียวสดระยะนึงแล้วจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง ใบจะมีสีแดงมากขึ้นเมื่อเลี้ยงออกแดด ต้นที่นำมาลงผมถ่ายตอนช่วงหน้าฝน เลยได้น้ำเต็มที่ทีเดียวและการเลี้ยงได้แดดแค่ 4 ชั่วโมงในช่วงเช้า ขาดเรื่องความเย็นของอุณหภูมิที่เป็นตัวขับให้สีของอโลให้แดงยิ่งขึ้น เพราะเลี้ยงในกรุงเทพคงไม่ได้อากาศหนาวเย็นแน่ สีที่ได้จึงออกมาแบบ 2 Tone อย่างนี้ .......

รูปถ่ายตอนช่วงหน้าร้อน
 สังเกตช่วงหน้าร้อนสีจะเข้มใบจะมีสีหม่นหน่อย ผิดกลับช่วงหน้าฝน ใบจะเขียวสดมากกว่าแต่ก็ยังมีสีแดงให้เห็นอยู่ชัดเจน...

Sunday, May 26, 2013

Aloe cj hidra

นานหลายเดือนแล้วที่ไม่ค่อยได้อัพเดทไม้ที่ผสมเองเลย วันนี้ได้โอกาศเลยจับว่านหางจรเข้ที่ผมผสมเองมาโชว์ตัวซะหน่อย ผมตั้งชื่อไม้ตัวนี้ว่า Hidra เพราะรูปทรงและหนามดูเหมือนอสูรกายในตำนานของทางยุโรป อีกทั้งการแตกหน่อยังแตกสองยอดจากโคนต้นเดียวได้อีก ทรงก็เลยดูพิลึกเข้าไปใหญ่ ใบยาวมีฟันสีแดงทั่วทั้งใบ เลี้ยงแดดต้นจะออกสีดำแถมหนามยิ่งแดงสดเข้าไปอีก ตอนนี้ก็รอเมล็ดที่กำลังเพาะและผสมจากแม่ hidra อยู่ ไว้จะนำมาให้ชมอีกทีครับ
 Aloe cj hidra
 ช่วงนี้ได้น้ำฝนช่วยครับ ใบเขียวสดดี แถมเลี้ยงร่มๆฟันก็แดง

Tuesday, April 30, 2013

Ariocarpus fissuratus

Ariocarpus fissuratus intermedius
fissuratus มีหลายฟอร์มและหลายหน้าไม้มากครับ ตัวอย่างที่เอามาลงเป็น Ariocarpus fissuratus intermedius ลักษณะที่เห็นชัดเลยคือจะไม่มีร่องลึกเป็นเส้นตรงขอบใบเหมือนตัวฟิตซูทั่วไป

Ariocarpus fissuratus intermedius
ส่วนรูปนี้เป็นฟิตซูไม้ญี่ปุ่นครับ เป็นลักษณะร่องลึกและใบสั้น
ariocarpus fissuratus ทั่วไปในท้องตลาดที่ขายจะมีขนปุยเป็นเส้นกลางใบ ร่องลึกมั้งไม่ลึกมั้ง นั้นคือความหลายหลายของธรรมชาติเลยมีหน้าไม้ให้เราเก็บสะสมกันได้หลายแบบ กว่าจะเห็นฟอร์มก็เลี้ยงประมาณ 3 ปีได้นะครับ เป็นไม้ที่ต้องใช้เวลาจริงๆ .....ไว้จะมาเพิ่มเติมหน้าไม้สวยๆให้อีกนะครับคราวหน้า

Ariocarpus fissuratus cv. godzilla
 เป็น fissuratus อีกแบบที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงและผสมโดยมนุษย์ ไม่มีธรรมชาติ

Friday, March 1, 2013

Ariocarpus fissuratus var. lloydii

Ariocarpus fissuratus var. lloydii
Ariocarpus lloydii เป็น var. มาจาก Ariocarpus fissuratus อีกทีครับ ใบจะออกกลมหนากว่า ไม่มีร่องึกเป็นทางเหมือนกับ fissuratus บางครังเราจะได้ยินชื่อ Ariocarpus lloydii มีคำว่า latus ต่อท้ายชื่ออีกทีเป็นลักษณะพิเศษครับ เป็นลักษณะย่อยอีกแบบจากตัว Ariocarpus lloydii อีกทีครับ ถ้าจำไม่ผิด latus น่าจะหมายถึง lloydii ที่มีลักษณะผิวใบเรียบกว่า lloydii ตัวปกติครับ ส่วนใหญ่ไม้ที่เราได้มาเลี้ยงก็มาจากเนอสเซอรี่ทั้งนั้นเลยมีลักษณะย่อยต่างๆ ออกมามากมายให้ได้สะสมครับ

Uebelmannia pectinifera

Uebelmannia pectinifera
Uebelmannia หรือแผงคอม้า เป็นไม้อีกตัวที่บ้านเรานิยมเลี้ยงสะสม เป็นไม้ที่โตช้าและมีหลายสายพันธุ์ ตัวนี้จะมี 2 สี คือ GREEN และ DEEP PURPLE ตัวนี้จะเป็น Deep purple
คาดว่าน่าจะเป็น Uebelmannia pectinifera var. pseudopectinifer แต่ไม่ว่าจะเป็นวาไรตี้ไหนผมก็ชอบหมดเพราะรูปทรงสวยดี

Popular Posts